EVEANDBOY ร้านสะดวกซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม สู่ใจกลางสยามสแควร์

หลาย ๆ คน คงแปลกใจและสงสัยว่าร้านขายเครื่องสำอางก็มีอยู่มากมายเต็มไปหมด แต่ทำไมร้าน EVEANDBOY ถึงมีคนเยอะตลอดเวลาไม่ว่าจะสาขาไหนก็ขายดีคนเข้าไม่เคยขาดสายและล่าสุดเปิดสาขาใหม่ที่สยามสแควร์วันซึ่งพื้นที่ใหญ่มาก ๆ แต่คนก็ยังเต็มร้าน

EVEANDBOY ก่อตั้งโดยคุณ หิรัญ ตันมิตร ตอนนี้เขามีอายุแค่ 33 ปี ซึ่งจุดเริ่มต้น EVEANDBOY  คือ ธุรกิจโชว์ห่วยซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวที่จำหน่ายสินค้าตั้งแต่สินค้าอุปโภคบริโภคจนถึงคอสเมติก ในช่วงที่พี่สาวเรียนจบมหาวิทยาลัย จึงได้ขอตึกแถวของครอบครัวที่ว่างอยู่เปิดช็อปจำหน่ายคอสเมติกโดยใช้ชื่อ EVEANDBOY จำหน่ายคอสเมติกมัลติแบรนด์ ที่ได้แนวคิดมาจาก การเดินทางไปต่างประเทศเห็นร้านสไตล์คอสเมติกมัลติแบรนด์ได้รับความนิยมในหลาย ๆ ประเทศ ทั้งยุโรป และเอเชีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีมีร้านรูปแบบนี้หมด มองว่าเป็นเทรนด์ของคนรุ่นใหม่ที่นิยมซื้อสินค้าจากร้านสไตล์นี้ ไม่ต้องเสียเวลาคอนเซาส์กับบีเอตามเคาน์เตอร์แบรนด์ห้างสรรพสินค้า แต่อาจจะเลือกสินค้าเอง หยิบเอง และชื่อ EVEANDBOY เป็นชื่อเล่นของพี่สาวและเขา สาขาแรกอยู่ที่จังหวัดมหาสารคาม สาขาที่สองอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ในเวลาหลังจากนั้นอีก 2 ปี และเริ่มมองหาโอกาสใหม่ ๆ ให้กับ EVEANDBOY

จึงเปิดสาขาใหม่ที่สยามสแควร์เพราะตอนเรียนที่ธรรมศาสตร์จะคุ้นเคยกับการเดินสยามสแควร์ เห็นสยามเป็นแหล่งวัยรุ่น คนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เปิดรับอะไรใหม่ ๆ ง่าย และเชื่อว่าจะเปิดรับร้านสไตล์ EVEANDBOY ได้มากกว่าพื้นที่อื่น ๆ จึงเลือกสยามเป็นที่แรกในการขยายสาขาสู่กรุงเทพ ได้เข้าไปคุยกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่สยามสแควร์ ขอเช่าพื้นที่ แต่ในช่วงเวลานั้นพื้นที่ 3 ห้องในสยามสแควร์ซอย 1 ว่างอยู่พอดีทางจุฬาฯ จึงได้เสนอพื้นที่นี้ให้ และถือเป็นจุดเริ่มต้น EVEANDBOY สยามสแควร์ในกันยายน 2555

ตอนนั้นบอกกับจุฬาฯ ว่าเท่าทุนก็ทำ อาจเพราะเป็นช่วงที่เป็นวัยรุ่น พร้อมจะเติบโต จุฬาฯ ให้เวลา 7 วันตัดสินใจเช่าพื้นที่สยามสแควร์ซอย 1 แต่ในตอนนั้นตัดสินใจที่จะทำ เลยลองดู ไม่ได้คาดหวังอะไรมากนัก เพราะ EVEANDBOY เป็นช็อปน้องใหม่สำหรับคนกรุงเทพ และการทำตลาดในกรุงเทพแตกต่างจากต่างจังหวัดมาก เปิดตัวด้วยการเลือกใช้โซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นสื่อหนึ่งที่กำลังโตเป็นสื่อหลักสื่อหนึ่งในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า เลือกวุ้นเส้นเป็นดารากลุ่มแรกๆ ที่ใช้ IG และมีคนตาม IG สูงสุดในเวลานั้นเป็นพรีเซ็นเตอร์ ช่วยกระจายข่าวสาร รวมถึงซื้อสื่อแมกกาซีนร่วมโปรโมทในปีสองปีแรก และเมื่อมีคนรู้จัก EVEANDBOY มากขึ้นยอดติดตามในเฟซบุ๊ก และ IG EVEANDBOY  ก็เพิ่มตามมา แต่จุดเริ่มต้นของความสำเร็จคือการเปิดสาขาที่สยามสแควร์ในปี 2555 เป็นช่วงเริ่มต้นที่ social media เริ่มเข้ามามีผลต่อพฤติกรรมผู้ซื้อเครื่องสำอาง และคนรีวิวหรือบล็อกเกอร์เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ซื้อทั้งใน Youtube Facebook Instagram

 

EVEANDBOY  เริ่มมีศักยภาพในการต่อรองและพูดคุยกับแบรนด์พาร์ทเนอร์ โดยนำโมเดลจากต่างประเทศไปนำเสนอ เล่าถึงเทรนด์ร้านค้าในรูปแบบนี้ในต่างประเทศ ซึ่งร้าน EVEANDBOY   ก็เป็นเหมือนเคสสตาร์ทดี้ให้กับแบรนด์ในช่องทางใหม่ๆ  ด้วย บางสินค้าที่อื่นขายไม่ได้ แต่ขายที่ EVEANDBOY ได้ แบรนด์ก็แฮปปี้ โดยลูกค้า EVEANDBOY ส่วนมากเป็นผู้หญิงอายุ 18-34 ปี และอยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่รักความอิสระในการเลือกซื้อสินค้าและชอบความวาไรตี้ของสโตร์ ซึ่งร้าน EVEANDBOY  ไม่ได้กระทบกับห้างสรรพสินค้าเลย เพราะลูกค้าคนละกลุ่ม  เพราะการซัพพอร์ตโปรโมชั่นสินค้าของแบรนด์ใน EVEANDBOY  และห้างเป็นโปรโมชั่นคนละรูปแบบกัน สิ่งที่ทำให้แบรนด์ยอมให้ EVEANDBOY   ตั้งราคาสินค้าที่จำหน่ายในร้านต่ำกว่าท้องตลาด

ปลอมหรือแท้แบรนด์เท่านั้นเป็นผู้ตอบข้อสงสัย

EVEANDBOY  ขายสินค้าปลอมหรือเปล่า ทำไมราคาถูก เป็นเควสชั่นที่มีเข้ามาตลอด แต่นโยบายของ EVEANDBOY  สินค้าที่มาจำหน่ายในร้านต้องเป็นของแท้ที่จัดจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายที่ถูกลิขสิทธิ์เท่านั้น และถ้าเป็นสินค้าที่นำเข้าจะต้องเป็นสินค้าจากบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างถูกต้องจากเจ้าของลิขสิทธิ์แบรนด์เท่านั้น EVEANDBOY  จะไม่ออกมาบอกลูกค้าว่าของที่จำหน่ายในร้านทุกไอเทมเป็นของแท้ สินค้าของแท้หรือปลอมสามารถตรวจสอบได้จากป้ายสินค้า และคนที่ใช้สินค้าเป็นประจำสามารถรู้ได้ว่าเป็นของแท้หรือของปลอม ซึ่งแรก ๆ  ในโซเชียลมีการพูดถึงสินค้าจากร้าน EVEANDBOY ในแง่มุมพวกนี้ค่อยข้างมาก แต่เมื่อแก้ปัญหาด้วยการให้แบรนด์เป็นผู้ตอบ การพูดถึงในแง่มุมนี้ในโลกโซเชียลก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัดจนแทบจะไม่มี และ EVEANDBOY  มีทีมงานโซเชียล ที่คอยตรวจตราและรีแอคชั่นทันที และถ้าเกิดมีปัญหาจากสินค้าจริงยินดีเปลี่ยนสินค้าใหม่ให้ทันที

11 ปี ของ EVEANDBOY ไม่มีเป้าให้ฝ่ายขาย แต่กลับเติบโต

อาจจะดูแปลกไปสักนิดที่ ร้านคอสเมติกอย่าง EVEANDBOY  ไม่เคยตั้งเป้ายอดจำหน่ายให้พนักงานขายเลย ซึ่งขัดกับคอสเมติกรายอื่นที่พนักงานขายต้องสร้างยอดการเติบโต เพราะมองว่า การเติบโตของ EVEANDBOY ไม่ได้มาจากพนักงานขายเพียงส่วนเดียว แต่มาจากพนักงานทุกคนในองค์กร แม้มีคู่แข่งเข้ามา พวกเขาก็ไม่กังวล เพราะพวกเขามองว่าการแข่งขันในธุรกิจนี้ คือการแข่งกับตัวเอง ทำอย่างไรให้องค์กรให้ทันสมัยและดีขึ้น

อุปสรรคคือบทเรียนที่ก้าวผ่าน

ตลอด 11 ปี ของ EVEANDBOY มีอุปสรรคเข้ามาทุกวัน ทั้งเล็กและใหญ่ แต่เป็นคนไม่กลัวอุปสรรค อุปสรรคที่เข้ามา จะมองเห็นถึงปัญหา และแนะนำทีมงานได้ว่ามันเกิดจากอะไร จะรับมืออย่างไร และการที่ทำเองมาทั้งหมดจะสามารถสร้างทีมงานที่มีคุณภาพได้ และเข้าใจพนักงานทุกอย่างว่าเขาเจออะไรบ้าง เพราะเคยเจอมาหมดแล้ว

สินค้าในร้านคือความต้องการของลูกค้าและต้องใหม่ที่สุดเสมอ

ทุกวันนี้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ความต้องการของสินค้า และเทรนด์เป็นสิ่งสำคัญในการคัดเลือกสินค้าที่มามากกว่า 80,000-100,000 ไอเทมเข้ามาจำหน่ายใน  EVEANDBOY ที่เน้นความใหม่ของสินค้า ถ้าสินค้าไม่ใหม่ไม่รับมาจำหน่าย เพราะเหมือนเป็นการหลอกลูกค้า และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลอกลูกค้าได้ แค่พลิกใต้สินค้าดูก็รู้แล้วว่าของผลิตเมื่อไร ซึ่งเป็นหนึ่งนโยบาย  EVEANDBOY ตั้งแต่เปิดสาขาแรกนอกเหนือจากราคาแวลูฟอร์มันนี่ และการสต๊อกสินค้าของ  EVEANDBOY ก็สต๊อกสินค้าเพียงเดือนครึ่งถึงสองเดือนเท่านั้นเพราะการจำหน่ายสินค้าที่รวดเร็ว

ทั้งนี้ หิรัญมองว่าแบรนด์ไทย หลาย ๆ แบรนด์ประสบความสำเร็จมาก และคนไทยไม่ได้มองว่าแบรนด์ไทยเป็นของไม่มีคุณภาพ บางแบรนด์ราคาจำหน่ายราคาเป็นพันก็มีลูกค้าซื้อ และเจ้าของแบรนด์ก็เป็นคนรุ่นใหม่ เพราะปัจจุบันนี้โซเชียลมีเดียเหมือนเป็นเครื่องมือที่ทำให้แบรนด์มีสื่อเป็นของตัวเอง สามารถเปิดหน้าร้านออนไลน์ได้โดยไม่ต้องมีเงินลงทุน

 

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn