ทำอย่างไรให้ความคิดสร้างสรรค์บรรเจิดเมื่อเรากำลังเกิดภาวะตึงเครียด

ผู้คนส่วนใหญ่มักคาดหวังว่าจะสามารถสร้างความคิดสร้างสรรค์ได้ในเวลาที่จิตใจปั่นป่วน เราจะทำอย่างไรเมื่อมีภาระตึงเครียดหากว่าเราเคยเจอสถานการณ์เหล่านี้

Elizabeth Saunders มีไอเดียดี ๆ ให้เราได้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ของเธอที่เคยพบเจอมาตอนทำงานเป็นผู้เชียวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการที่สมองของคนเราสามารถสร้างไอเดียที่ดีที่สุดได้จากสิ่งแปลกใหม่ที่เกิดออกมาจากความคิดใหม่ ๆ

เริ่มแรก เราควรปล่อยวางและต้องไม่บังคับจิตใจของตัวเอง หากเรากำลังวิตกกังวล วาดกลัว หรือว่าเรากำลังเปิดโหมดป้องกันตัวเอง , โหมดการต่อสู้ สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ส่วนแรกของระบบสมองของเรามีความคิดสร้างสรรค์น้อยมาก การบอกตัวเองว่า

“ชั้นจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์” หรือ “ฉันจะต้องทำมันตอนนี้” ห้ามบอกตัวเองแบบนั้นเด็ดขาด เปลี่ยนคำพูดเหล่านี้เป็น “มันจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปนะ” “ยังมีทางไหนที่มันสามารถเป็นไปได้อีก” หรือ “ถ้าไม่ใช่ไอเดียนี้มีไอเดียอื่นอีกไหมที่คล้าย ๆ กัน”

การทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้สมองเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาได้มากที่สุดเช่นการเดิน การงีบ การกิน หรือ การที่คุณพักผ่อนจิตใจด้วยวิธีอื่น ๆ

เราจำเป็นจะต้องสร้างความรู้สึกที่ปลอดภัยเพื่อที่เราจะไม่รู้สึกกดดันและทำให้สมองมีประสิทธิภาพในความคิดมากขึ้น จากนั้นทดลองหรือทำกิจกรรมที่สามารถทำให้ตกในอยู่ภาวะความคิดกระจาย ประเภทของการคิดแบบนี้เป็นคล้าย ๆ กับสมองของเราทำงานอย่างไม่แน่นตึงเกินไป พยายามที่จะเชื่อมต่อในแต่ละส่วนขอสมองให้เข้ากันละจะเกิดการทำงานอย่างโฟกัสเรียกว่า “การมุ่งเน้นความคิด” กิจกรรมที่จะเข้ามาช่วยเหลือเราได้คือการเดิน การงีบ การกิน หรือ การที่เราพักผ่อนจิตใจด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อทำให้สมองเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาได้มากที่สุด ระหว่างนี้เราจะไม่สามารถหลีกเหลี่ยงการทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกันได้เพื่อให้จิตใจของเราได้โฟกัสไปที่สิ่ง ๆ เดียวเท่านั้น อย่างเช่น เราสามารถป้อนข้อมูลให้กับสมองของเราด้วยสิ่งเหล่านี้: อะไรคือสิ่งที่เกี่ยวข้องและทำให้โปรโมชั่นมีผลต่อยอดขาย ? จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากเราเข้าหาลูกค้าในอีกรูปแบบ การเปิดรับความคิดใหม่ ๆ เข้ามาโดยไม่มีขอบเขตของความคิด เปิดความคิดและไม่ติดสินคุณภาพและปริมาณของความคิดทำให้สมองของเรา

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Elizabeth Saunders พบว่าเธอมีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดเมื่อเธอให้พื้นที่ตัวเองกับคอมพิวเตอร์ แต่ยังวางตำแหน่งตัวเองใน “สถานที่ที่มีความสุข” และเธอค้นพบว่าในช่วงเดือนที่มีอากาศค่อนข้างร้อนเธอควรออกไปเดินเล่นข้าง ๆ ริมแม่น้ำ หรือในช่วงเดือนที่มีอากาศหนาวเธอควรจะไปอยู่ร้านกาแฟหรือที่มีเตาผิงไฟอุ่น ๆ การได้เอาตัวเองไปอยู่รอบ ๆ ความสวยงาม ความสงบ มันทำให้เราสามารถยกระดับจิตใจของตัวเองให้สูงขึ้น เธอได้มีโอกาสเทรนให้ลูกค้าบางคนค้นพบว่าความสุขคืออะไร ได้มีเวลาว่างเพื่อใช้ความคิดสร้างสรรค์ในห้องสมุด หรือพิพิธพัทธ์ หรือแม้กระทั่งร้านดอกไม้ที่อยู่ข้างทาง การได้รับรู้ว่าสภาพแวดล้อมใดที่ทำให้เรามีความสุขและดื่มด่ำไปกับตัวเราทำให้เรามีความคิดเชิงบวกเกิดขึ้น

ถ้าหากเรารู้สึกว่าตัวเองกำลังติดอยู่กับความรู้สึกและไม่สามารถมีไอเดียใหม่ ๆ ได้ บางทีเราอาจจะสามารถป้อนข้อมูลใหม่ ๆ ที่ทำให้สมองเรานำไปปรับใช้กับไอเดียต่าง ๆ ได้ เช่น การอ่านบทความ การท่องเที่ยวทริปเล็ก ๆ ที่สามารถไปพบผู้คนใหม่ ๆ หรือสถานที่ที่มีคำตอบของการแก้ไขปัญหาของเรา หรือสถานที่ที่ทำให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ หรืออาจจะพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ บางครั้งการเห็นสิ่งที่ผู้อื่นทำอาจจะทำให้เรามีไอเดียแต่แตกต่างอย่างคล้าย ๆ ในแนวทางของเราอยู่ก็ได้ การระดมสมองกับเพื่อนร่วมงาน ดื่มด่ำรสชาติกาแฟร่วมกับเพื่อนของเรา หรือการแก้ไขปัญหากับที่ปรึกษา การระดมสมองปัญญาที่มากกว่า 2 ย่อมดีกว่า 1 กระบวนการพูดคุยผ่านความคิดไอเดียของเราสามารถกระตุ้นความคิดใหม่และความท้าทายได้

ท้ายที่สุด ความคิดสร้างสรรค์เกิดได้จากการที่เรามีเวลาให้ตัวเอง เมื่อสมองของเราถูกใช้งานได้อย่างเต็มที่จะมีทักษาความสามารถในการสร้างสรรค์ความคิดที่จะทำให้เราโผยบิน แต่ถ้าหากเราใช้งานสมองของเราไม่เต็มที่ ลองให้เวลาคิดสักสองสามวันแล้วเราจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นทางความคิด 

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn