3 สิ่งที่คนทำงานต้องการอย่างแท้จริงนอกจากเงิน

จากการแข่งขันในทุกวันนี้ไม่ใช่แค่พนักงานเท่านั้นที่แข่งกันหางาน แต่ทางบริษัทเองก็มีการแข่งขันในการดึงพนักงานที่มีศักยภาพไว้กับบริษัทให้มากที่สุด หลังจากถามผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) มาเรียบร้อยแล้วก็จะพบว่ามันยากแค่ไหนที่จะรักษาพนักงานโดยเฉพาะผู้ที่ประสบความสำเร็จสูงกับทางบริษัทหรือบุคคลที่มีพรสวรรค์เหมาะกับงานพวกเขาขณะนั้น ดังนั้นการรักษาพนักงานให้มีความสุขและมีประสิทธิผลไม่ใช่เรื่องง่าย แน่นอนว่าสิ่งจูงใจทางการเงินมีความสำคัญ แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าพวกเขาพร้อมแลกทุกอย่างกับเงินที่เพิ่มขึ้นเสมอไป

และนี่คือ 3 อย่างที่คนทำงานต้องการอย่างแท้จริง

 

1.ทำงานในแบบที่ตรงความสามารถตนเอง

จากการสำรวจคนงาน 6 คนจากใน 10 คนต้องการขอเจ้านายให้ทำงานที่มีความหมายมากกว่าการเพิ่มงานที่ไม่ตรงกับความสามารถตนเองให้กับพวกเขา และพวกเขายังกล่าวด้วยว่าพวกเขาใช้เวลาร้อยละ 40 ในการทำงานประจำวันซึ่งไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเป้าหมายงานหลักเลยแม้แต่น้อยเพราะได้ทำแต่งานยิบย่อยที่ได้รับมอบหมายในแต่ละวัน แบบสำรวจนี้นิยามคำว่า “ งานที่มีความหมาย” สำหรับพวกเขาเป็น “ งานที่ทำให้รู้สึกว่าพวกเขาเป็นตัวช่วยสำคัญกับงานให้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีและมีส่วนร่วมในเป้าหมายที่จะเติบโตของบริษัท” ในมุมของนายจ้างอาจจะคิดว่าการเป็นพนักงานควรมีความสามารถรอบด้านและสามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกตำแหน่งเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวบริษัทและพนักงานเอง แต่อันที่จริงลูกจ้างอาจจะไม่ได้คิดแบบนั้น

 

2.ความสมดุลของชีวิตการทำงาน

การสำรวจออกมาพร้อมกับการค้นพบที่น่าสนใจ เพราะพนักงานในหลายตำแหน่งมักจะกล่าวว่าพวกเขาทำงานจนล่วงเลยเวลาปกติจากที่ทำงานมาจนถึงการทำโอทีหลายชั่วโมงในแต่ละวันเพราะจะต้องรีบทำงานให้เสร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ พวกเขายังกล่าวอีกว่าในบางครั้งยังต้องสละเวลาส่วนตัวอย่างเช่นเวลาพักผ่อน ท่องเที่ยวสุดสัปดาห์หรือแม้กระทั่งเวลานอนในแต่ละวันของพวกเขาเพื่อทำให้งานเสร็จทันเวลาจนในบางครั้งร่างกายอ่อนล้าและสมองไม่พร้อมทำงานในวันถัดไป พนักงานทุกคนล้วนต้องการความสมดุลในชีวิตทำงาน ถึงแม้ว่าการทำงานล่วงเวลาพวกเขาอาจจะได้ค่าโอทีเพิ่มขึ้น แต่พนักงานส่วนมากไม่ได้เห็นความสำคัญของเงินทองไปมากกว่าสุขภาพและเวลาพักผ่อนที่เหมาะที่ควรของพวกเขาเป็นแน่

 

3.การเอาใจใส่ก็นับรวมเช่นกัน

อีกหนึ่งอย่างที่นับว่าเป็นเรื่องสำคัญของพนักงานในบริษัทก็คือความใส่ใจจากเจ้านายตนเอง พวกเขาไม่ได้คาดหวังให้เจ้านายจะต้องเข้าใจในทุกเรื่องอย่างเช่นเรื่องส่วนตัว แต่การแสดงออกถึงความใส่ใจและความเห็นอกเห็นใจกับพนักงานภายใต้การดูแลบ้างจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ของเจ้านายและลูกน้องได้มากขึ้น ในบางครั้งพนักงานอาจมาถึงออฟฟิศในสภาพอิดโรย หรืออารมณ์หม่นกว่าทุกวัน แทนที่จะติเตียนพวกเขาหากเจ้านายลองใส่ใจด้วยการถามว่าเกิดอะไรขึ้น หรือในยามที่พนักงานในการดูแลไม่สามารถทำงานเร่งด่วนได้ทันตามเวลาที่กำหนด ก่อนที่จะดุด่าพวกเขาเจ้านายควรลองถามถึงต้นเหตุของปัญหานี้และช่วยพวกเขาหาทางแก้ไข การเห็นอกเห็นใจจะสร้างแรงบันดาลใจที่ดีให้กับพวกเขาเช่นกัน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : entrepreneur

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn