TikTok ช่องเราดีพอรึยัง? มารู้จัก TikTok Analytic เครื่องมือวิเคราะห์ของ TikTok กันดีกว่า

 

TikTok เป็นแพลตฟอร์มดาวรุ่งพุ่งแรงที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ดังนั้นการทำความเข้าใจการตลาดบน TikTok จึงเป็นเรื่องที่นักการตลาดของแบรนด์ทุกคนไม่ควรปล่อยผ่านเด็กขาด ซึ่ง TikTok เองก็มีเครื่องมือ TikTok Analytic ที่แสดงข้อมูลเชิงลึกของบัญชีของแบรนด์บนแพลตฟอร์ม TikTok ซึ่งก่อนหน้านั้นควรต้องมีบัญชี TikTok Pro

 

บัญชี TikTok Pro คืออะไร?

เป็นบัญชีที่สร้างมาให้แตกต่างกับบัญชี TikTok แบบทั่วไป ที่จะช่วยให้นักการตลาดสามารถดูข้อมูลเชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลจาก dashboard ได้ คล้ายๆเครื่องมือ Analytic บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ วิธีการเปลี่ยนบัญชีให้เป็น TikTok Pro คือ

  • คลิกที่จุดสามจุดตรงมุมขวาบนในหน้าโปรไฟล์
  • เลือกจัดการบัญชีของฉัน
  • เลือกหมวดหมู่และเพจที่เหมาะสม
  • ยืนยันตัวตนด้วยหมายเลขโทรศัพท์

ซึ่งหลังจากเราเปลี่ยนบัญชีให้เป็น TikTok Pro แล้ว เราจะสามารถดูข้อมูลเชิงลึกบน TikTok Analytic ได้

วิธีเช็คข้อมูลบน TikTok Analytic

การใช้ TikTok Analytic สามารถใช้ได้เลยจากหน้า Mobile โดยเข้าไปที่ Privacy and safety และเลือก Ananlytics หรือบนหน้า desktop แล้วเข้าไปที่หน้าโปรไฟล์บริเวณมุมขวาบน แล้วกดเลือก View Analytics ซึ่งก็แสดงข้อมูลเชิงลึกต่างๆ

  • TikTok followers analytics: จะแสดงข้อมูลของผู้ติดตาม เช่น เพศ อายุ สถานที่ กิจกรรมของผู้ติดตาม แม้แต่กระทั่งเพลงที่ผู้ติดตามมักใช้หรือฟัง
  • TikTok profile analytics : เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโปรไฟล์ของเรา โดยสามารถแสดงระยะเวลาตั้งแต่ 7-28 วันว่าบัญชรของเรามี traffic อย่างไร
  • TikTok videos analytics: ภาพรวมของวีดีโอบนบัญชี TikTok ในช่วงสัปดาห์หรือเดือนที่ผ่านมา โดยจะแสดงยอดรวมความคิดเห็น ระยะเวลารับชม แหล่งที่มา เป็นต้น

ทำความเข้าใจ TikTok metrics

ถึงแม้ TikTok จะสร้างวีดีโอที่เรียกกันติดปากว่า Viral ได้บ่อยครั้ง จนกลายมาเป็นสโลแกนของ TikTok ที่ว่า ‘Don’t make Ads, Make a trend’ แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากการตั้งหน้าตั้งตาผลิตเทรนด์แล้ว สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยคือเครื่องมือเหล่านี้

  • Video views: จำนวนครั้งทั้งหมดที่วีดีโอของเราได้รีับการรับชม
  • Followers : จำนวนผู้ติดตาม
  • Profile views: จำนวนครั้งที่มีการเปิดดูโปรไฟล์ของเรา สะท้อนให้เห็นว่าบัญชี TikTok ของเราได้รับความสนใจมากน้อยแค่ไหน และมีคนอยากรู้ว่าแบรนด์ของเราทำอะไรในแพลตฟอร์ม TikTok นี้มากแค่ไหน

  • Follower Tab: ข้อมูลของผู้ติดตามที่มากกว่าข้อมูลด้านประชากร เช่น ความสนใจ เป็นต้น
  • Follower activity: แสดงวันและเวลาที่ผู้ติดตามของเราออนไลน์บน TikTok มากที่สุด เพื่อให้เราสามารถวางแผนการเผยแพร่วีดีโอได้ตรงกับช่วงเวลา
  • Video your folloers watched: วีดีโอที่ผู้ติดตามของเรารับชม เช่น หัวข้อ หมวดหมู่ หรือเทรนด์ต่างๆ
  • TikTok engagement rates: สามารถคำนวนสูตรการมีส่วนร่วมบน TikTok โดยใช้สูตร (ยอด Like + ยอด comment / ยอด followers) x 100 เพื่อดูว่ามีการมีส่วนร่วมกี่เปอร์เซ็นต์

เครื่องมือ TikTok Analytics มีหลักการไม่ต่างอะไรกับเครื่องมือวิเคราะห์โซเชียลมีเดียอื่นๆ สิ่งสำคัญก็คือ นักการตลาดต้องตีโจทย์ให้ออกว่า เราจะทำ TikTok กันไปเพื่ออะไร

 

 

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn