“กัญชา” จากยาเสพติดสู่พืชถูก “กฎหมาย”

กัญชาพืชเก่าแก่ที่อยู่คู่กับมนุษยชาติมานับพันปี มีหลักฐานเชื่อมโยงมนุษย์กับกัญชามานับ10,000ปี จากการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์อยู่คู่กับเครื่องปั้นดินเผาที่ภายในบรรจุเมล็ดกัญชา โดยสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นการใช้กัญชาเพื่อประกอบพิธีกรรมบางอย่าง นอกจากจะใช้ในการประกอบพิธีกรรมแล้วกัญชายังใช้ในทางการแพทย์ด้วยโดยการศึกษาค้นคว้าพบหลักฐานเก่าแก่ที่สุดคือเมื่อประมาณ 2,737 ก่อนคริสตกาลกัญชาถูกใช้เป็นยาโดย จักรพรรดิ Shen Neng แห่งอาณาจักรจีน เห็นได้ชัดว่าพืชชนิดนี้มีความเชื่อมโยงกับมนุษย์เป็นเวลานานแล้ว 

จนมาถึงค.ศ. 1915 – 1927 สหรัฐอเมริกาในบางรัฐมีการห้ามใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ แต่ยังคงอนุญาตให้ใช้เป็นยาได้ จนถึง ค.ศ.1937 สภาคองเกรซของสหรัฐอเมริกาออกกฎหมายห้ามการใช้กัญชาทุกรูปแบบ ทำให้ภาพลักษณ์ของกัญชาผิดกฎหมายได้แพร่ไปยังที่ต่างๆของโลก ในช่วงสงครามเวียดนามสมัยของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ทหารที่ไปรบที่เวียดนามก็เสพกัญชาทำให้ประสิทธิภาพในการรบลดลง และประชาชนภายในประเทศเริ่มมีการเสพกัญชามากขึ้น

โดยมีการกล่าวกันว่าการปราบปรามนั้นก็เพื่อที่จะใช้เป็นข้ออ้างในการจับกุมผู้ที่ต่อต้านสงคราม ถึงขนาดให้เงินวิจัยมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย ทำการวิจัยว่ากัญชาเป็นสารก่อมะเร็ง เพื่อสร้างความชอบธรรมในการปราบปราม โดยทางรัฐบาลไทยในสมัยนั้นมีนโยบายตามรอยสหรัฐอเมริกา จึงได้จัดให้กัญชาเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ภายใต้พระราชบัญญัติยาเสพติด พ.ศ. 2522

ทุกวันนี้เริ่มมีการปรับตัวมากให้โดยในประเทศต่างๆเริ่มมีการปรับนโยบายให้ใช้กัญชาเพื่อทางการแพทย์ได้อย่างถูกกฎหมายหรือแม้กระทั่งใช้เพื่อสันทนาการก็ได้ในบางประเทศอย่าง เนเธอร์แลนด์ โคลอมเบีย อุรุกวัย แคนาดา และออสเตรเลีย ยกตัวอย่างประเทศที่เคยเป็นตัวตั้งตัวตีในการห้ามใช้กัญชาอย่างสหรัฐอเมริกา โดยทางมลรัฐโคโลราโดก็ได้อนุญาตให้มีการปลูกกัญชาและขายกัญชากับการบริโภคกัญชาได้โดยเสรี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 

ซึ่งในประเทศไทยก็ล่าสุดก็มีก้าวสำคัญในฐานะประเทศแรกในเอเชียที่เปิด “เสรีกัญชา” แต่ในช่วงนี้ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นกระแสสนับสนุนเพื่อใช้ในทางการแพทย์เสียมากกว่าจะใช้ในเชิงสันทนาการ นับเป็นก้าวสำคัญของวงการแพทย์และประชาชนที่ได้เพิ่มทางเลือกในการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง แต่อย่างไรก็ตามกัญชาก็ยังเป็นสิ่งที่มีทั้งคุณและโทษการใช้งาน ควรอยู่ในบริมาณที่เหมาะหรือตามคำแนะนำของแพทย์

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn