1. ใช้อุปกรณ์สื่อสารก่อนเข้านอน เช่น มือถือ แท็บเล็ต หรือโน้ตบุ๊ก
เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้มีผลโดยตรงต่อคุณภาพการนอนของคุณ ซึ่งเป็นผลลบต่อ อารมณ์ ความคิด และพลังงาน ของคุณในการใช้ชีวิตประจำวัน
2. การเล่นอินเตอร์เน็ตโดยไม่มีแก่นสาร โดยเฉพาะเวลางาน
นอกจากจะทำให้คุณเสียการงานแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดของโรคสมาธิสั้นอีกด้วย
3. เช็คมือถือระหว่างการสนทนา ไม่ว่าจะเป็นในการคุยงาน หรือการพูดคุยทั่วไป
ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการเช็คมือถือระหว่างบทสนทนา เมื่อคุณเริ่มการสนทนาใดๆ คุณควรให้เกียรติผู้ร่วมสนทนาด้วยการตั้งใจฟังในสิ่งที่เค้าพูด
4. เปิดเสียงการแจ้งเตือนของแอ๊พพลิเคชั่นต่างๆ ทิ้งไว้ตลอดเวลา
การมีเสียงเรียกเข้า หรือเสียงเตือน จากมือถือของคุณดังขึ้นทั้งวัน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบประสาท ซึ่งทำให้กระบวนความคิดในการทำงานด้อยประสิทธิภาพ
5. มัก “ตอบรับ” เมื่อควร “ปฏิเสธ” หรือเป็นคนที่ไม่กล้าพูดคำว่า “ไม่” นั่นเอง
ความเกรงใจนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ความเกรงใจมากเกินไปจนลืมนึกถึงว่าสิ่งใดดีกับตนไม่ดีกับตน เป็นผลเสียกับการพัฒนาตนเองเป็นอย่างมาก
6. ยอมให้คน หรือสิ่งรอบกาย ทำให้คุณหงุดหงิด
การใช้เวลาไปคิดถึงบุคคล หรือเหตุการณ์ ที่มีผลกระทบต่อจิตใจของคุณ จะทำให้คุณเป็นคนขาดความมั่นใจ และไม่กล้าที่จะทำอะไรเพื่อตนเอง
7. ลงมือทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน โดยไม่ประเมินตนเอง
การจะทำอะไรให้สำเร็จนั้น คุณต้องทุ่มเทความมุ่งมั่นให้สิ่งนั้นอย่างเต็มที่ การทำหลายสิ่งหลายอย่าง ทำให้คุณไม่สามารถใช้พลังกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ 100% มักส่งผลเสียในระยะยาว
8. ติฉินนินทา ในความผิดพลาดของคนอื่น
อย่างที่ Eleanor Roosevelt ได้กล่าวไว้ว่า… “กลุ่มคนยอดเยียมถกถึงไอเดีย กลุ่มคนทั่วไปถกถึงเหตุการณ์ กลุ่มคนต่ำต้อยถกถึงกลุ่มคนอื่น”
9. รอเวลาเพื่อให้แน่ใจว่าจะสำเร็จ จึงค่อยลงมือทำ
การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง จะทำให้คุณไม่สามารถพัฒนาตนเองได้ ความกลัวในความผิดพลาดจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จ
10. การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น ไม่ว่าจะทำให้ตนเองรู้สึกดีหรือร้าย
เมื่อคุณวัดความสำเร็จของตนเองจากการเปรียบเทียบกับผู้อื่น คุณจะไม่มีวันพบเจอกับความสุขที่แท้จริง… เมื่อคุณบรรลุเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง หรือประสบปัญหาความผิดพลาด อย่าให้ความคิดเห็นของใครมามีอำนาจเหนือความรู้สึกของตัวคุณเอง…
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก: Emotional Intelligence 2.0 โดย Travis Bradberry
เรียบเรียงโดย: ดร.หฤษฎ์ อินทะกนก