เบื้องหลังของ Konvy มาจากนักธุรกิจหนุ่มอายุ 30 ปี ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องสำอางมาก่อนแต่มีความชอบตลาดอีคอมเมิร์ซ และประสบการณ์ด้านอีคอมเมิร์ซ เขาเริ่มทำธุรกิจตั้งแต่อายุ 20 ปี นักธุรกิจหนุ่มคนนั้นก็คือ คิงกุ้ย หวง ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอนวี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดหลังจากที่เรียนจบนั้นก็ได้กลับมาทำธุรกิจที่บ้านเกิดคือประเทศจีนเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซ Chinafung.com เป็นแพลตฟอร์มมัลติแบรนด์แฟชั่น รวมดีไซเนอร์ที่มีแบรนด์ของตัวเอง แต่ทำการตลาดไม่เก่งเท่าไหร่มารวมขายในแพลตฟอร์มนี้ คิงกุ้ย มีตำแหน่งเป็น CMO แต่ตอนนั้นมีปัญหาเรื่องผู้ลงทุน จึงออกมาทำอีกแพลตฟอร์มเป็นแบรนด์ตัวเองชื่อ Sixyard ต่อยอดจากการมีคอนเน็คชั่นกับดีไซเนอร์ เอาสินค้ามาทำแบรนด์ของตัวเองแล้วจำหน่ายใน Tmall ปรากฏว่าขายดี แต่ไม่มีกำไร เพราะคนจีนไม่ชอบแฟชั่นในประเทศ ชอบแฟชั่นทางตะวันตกมากกว่า และอีกอย่างคือที่ประเทศจีนตลาดอีคอมเมิร์ซมีการแข่งขันสูงมากถึงมากที่สุด จึงเกิดเป็น Konvy ขึ้นมา โดยที่เริ่มต้นก่อตั้งกับพี่ชาย และเพื่อนที่เป็นนักลงทุน คนรู้จักอีกนิดหน่อย เริ่มจากการพัฒนาเว็บไซต์ที่จีน และเริ่มเปิดตลาดที่ประเทศไทยซึ่งพี่ชายอาศัยอยู่ที่ไทยในขณะนั้น ตอนแรกอยากจะทำเหมือนกับ Lazada แต่ว่าตอนนั้นพบว่า Lazada ได้เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยแล้ว และมีแบ็คอัพที่ใหญ่มาก มีทุนหนามาก จึงลองมองเป็นตลาดบิวตี้เพราะว่าเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูง และเป็นสินค้าที่คนไทยชอบ มีการซื้อขายเยอะ มีแบรนด์ใหม่ ๆ ออกมาตลอด ตลาดโตขึ้นทุกปี จริง ๆ ก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องเครื่องสำอางอะไรเลย แต่คิดว่ามันมีโอกาสดีเท่านั้น” Konvy มาจากคำว่า Convenience แปลว่า ความสะดวกสบาย แต่เปลี่ยนจากตัว C เป็นตัว K ต้องการสื่อว่าเป็นแพลตฟอร์มที่ให้ความสะดวกสบายแก่ลูกค้าในการซื้อสินค้าบิวตี้ Konvy เป็นอีคอมเมิร์ซที่เป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับแบรนด์ไม่ใช่มาร์เก็ตเพลสที่ให้ใครมาวางขายสินค้าก็ได้แต่เป็นแพลตฟอร์มในการช่วยแบรนด์ทำการตลาดด้านออนไลน์ตอนนี้มีแบรนด์ความงามเกิดขึ้นจำนวนมาก ในการช่วยทำการตลาดมีการเก็บค่าแรกเข้าเพื่อในการทำธุรกิจร่วมกัน Konvy ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มีจุดยืนที่ค่อนข้างชัดเจน เจาะแค่กลุ่มเดียว คิงกุ้ยมองว่า การทำตลาดในสินค้ากลุ่มบิวตี้ นั่นไม่ได้จำกัดแค่ขายเครื่องสำอางเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีธุรกิจอื่น ๆ ที่เสริมกันอย่าง นิตยสารแฟชั่น […]
ถ้าพูดถึง Content แล้วไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นการเขียนบทความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรงเสียทุกครั้ง บางครั้งอาจจะเป็นเนื้อหาเบา ๆ ช่วยในการทำการตลาดและยังสามารถเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ รวมถึงก่อให้เกิดกระแสการแชร์ต่อไปได้เช่นกัน และนี่คือ Content เบาๆ ที่เราสามารถนำมาเล่นผ่านช่องทางของโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ได้ Content วันสำคัญหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราหรือไม่มีความเกี่ยวข้อง แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจ บางครั้งสามารถนำมาใช้เป็นลูกเล่นเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับ Content ได้ เช่น วันสำคัญทางศาสนา เทศกาลต่าง ๆ คำคม หรือคำพูดแนวสร้างแรงบันดาลใจ คำพูดแนวให้กำลังใจ ไม่ว่าจะเป็นการคิดขึ้นมาด้วยตัวเองหรือหยิบยกมาจากคนดังทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทำข้อความดี ๆ โดน ๆ สั้น ๆ กระชับได้ใจความเสริมด้วยภาพเพื่อเพิ่มอรรถรส รวมถึงคำกลอน คำคมคนดัง หากนำ Content ดังกล่าวมาอาจจะเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำอยู่ก็ได้ เพราะสามารถเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย ช่วยดึงความสนใจหรือเพิ่มจำนวนผู้ Follow ได้ แชร์บทความหรือรูปภาพที่น่าสนใจจากคนอื่น บางครั้งการแชร์Content ของคนอื่นที่เป็นข่าวดังหรือประเด็นที่ทุกคนกำลังพูดถึงกันอยู่ก็จะทำให้มีคนรู้จักแฟนเพจหรืออินสตาแกรมของเรามากขึ้น แต่ก็ไม่ควรทำบ่อย และควรจะเป็นข่าวเชิงบวกเท่านั้น ไม่ควรเป็นข่าวด้านลบ Content ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ยังคงเป็นเนื้อหาที่ผู้คนให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ เสมอ สามารถทำได้ทั้งแชร์บทความหรืออินโฟกราฟฟิคจากคนอื่น หากยิบเนื้อหาจากคนอื่นมาต้องให้เครดิตกับแหล่งที่มาด้วย ภาพประกอบสวย ๆ พร้อมแคปชั่นดี ๆ รูปภาพยังคงเป็นสิ่งที่เรียกความสนใจได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ภาพแนว […]