โซเชียลมีเดีย แนวรบใหม่บนโลก(ออนไลน์)

เมื่อความขัดแย้งในโลกจริงระหว่างสองชาติ อิสราเอล-ปาเลสไตน์ ไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่ในสนามรบ แต่ความขัดแย้งดังกล่าวได้ลุกลามบานปลายมาสู่โลกออนไลน์ในแทบจะทุกแพลตฟอร์มโซเชียล ทั้งในการโฆษณาชวนเชื่อปลุกระดมของทั้งสองฝ่าย แจ้งข่าวสารความขัดแย้ง ไปจนถึงการส่งต่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในโลกออนไลน์อย่างที่เราเห็นผ่านตาตลอดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันนี้ Ensure เลยจะขอคั้นอารมณ์มาชวนทุกคนคุยกันหน่อยว่า เราในฐานะคนธรรมดาที่ไม่ได้เกี่ยวกับความขัดแย้งจะรับมืออย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์     หลังจากที่กลุ่มฮามาสซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา ได้ทำการโจมตีอิสราเอล ตั้งแต่เมื่อช่วงวันที่ 7 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา จนทำให้ตอนนี้ตัวเลขผู้เสียชีวิตล่าสุดได้พุ่งสูงขึ้นไปถึง 3,800 ราย แล้ว ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มต้นปฏิบัติการเราจะพบว่าการโจมตีครั้งนี้ดูจะค่อนข้างแตกต่างจากครั้งอื่นในแง่ที่มีการใช้ “โซเชียลมีเดีย” มาช่วยในการปลุกเร้าผู้คน แรงเข้าอาจไปถึงการเผยแพร่ภาพความโหดร้าย     พื้นที่จริงว่าดุเดือดแล้ว แต่ในส่วนของการพูดถึงบนโลกออนไลน์ก็ดุเดือดไม่แพ้กัน เกิดการแบ่งเป็นสองฝ่ายทั้งสนับสนุนและต่อต้านไม่ว่าจะมาจากบุคคลทั่วไปไปจนถึงบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ก็ออกมาแสดงจุดยืนของฝั่งตัวเอง ซึ่งแน่นอนเรื่องประเด็นความขัดแย้งระหว่าง อิสราเอล-ปาเลสไตน์ พูดตรง ๆ ทั้งสองประเทศต่างก็มีเหตุผลและความชอบธรรมของตัวเอง ที่สำคัญคือต้นเรื่องเขาตีกันมาเป็นร้อยปี ดังนั้นแล้วจะโยนให้ใครเป็นพระเอกหรือผู้ร้ายก็อาจจะไม่ถูกทีเดียว      เราในฐานะคนใช้โซเชียลมีเดียไม่ว่าช่องทางไหนก็ควรระมัดระวังในการใช้คำพูดไม่ให้เกิดความขัดแย้งหรือเข้าใจผิดในการสื่อสาร อย่างน้อย ๆ ก็ต้องไม่ส่งต่อข้อมูลเท็จและข่าวปลอม ช่วยกันตรวจสอบข้อมูลที่เราได้รับก่อนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสังคมที่แข็งแรงบนโลกออนไลน์จะช่วยลดความขัดแย้ง การสร้างสังคมออนไลน์ที่เชื่อมโยงและร่วมมือกัน จะช่วยเสริมสร้างสังคมออนไลน์ที่ดีและมีความรับผิดชอบต่อไป     แต่ก็ไม่ใช่ต้องปล่อยผ่านทุกเรื่อง เราในฐานะ […]