วันก่อนผู้เขียนได้มีโอกาสไปอ่านเจอข้อมูลของทางกรุงเทพธุรกิจที่ได้ลงข่าวเรื่อง “ลอกข้อความมาจาก ChatGPT ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์” ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเพราะทุกวันนี้หลายวงการก็มีการนำ ChatGPT มาใช้โดยเฉพาะกับงานเขียน ซึ่งในเนื้อข่าวได้มีการระบุถึงการฟ้องร้องของบรรดานักเขียนเป็นจำนวนมากในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกา ที่ได้มีการยื่นฟ้อง ChatGPT ว่ามีการเข้าถึงงานเขียนของพวกเขาโดยไม่ได้รับอนุญาต ในการประมวลผลตอบปัญหาบน ChatGPT ซึ่งใครสนใจก็สามารถไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่กรุงเทพธุรกิจเดี๋ยวจะฝากลิงก์ไว้ให้ แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่เกิดเรื่องทำนองเดียวกันในประเทศไทย แต่ถ้าหากเราไปดูกันจริง ๆ การลอกข้อความมาจาก ChatGPT นั้น อาจเข้าข่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา 6 ที่กำหนดว่า งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใด ในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด หากข้อความที่ลอกมาจาก ChatGPT นั้น มีลักษณะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น บทความ บทกวี บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ก็อาจเข้าข่ายถือว่าผู้ลอกข้อความนั้นได้ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของผลงานต้นฉบับ […]