Red, White & Royal Blue หนังวาย การตลาด การเมือง

จะเกิดอะไรขึ้นถ้า “ลูกชายประธานาธิบดีสหรัฐฯ” เกิดตกหลุมรัก “เจ้าชายแห่งราชวงศ์อังกฤษ” Red, White & Royal Blue ภาพยนตร์ดัดแปลงจากนวนิยายขายดีชื่อเดียวกันของ Casey McQuiston ถูกนำมาเล่าใหม่ในรูปแบบภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้ โดยผู้กำกับ Matthew López ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องความรักกุ๊กกิ๊กและการเมืองในเรื่องแล้ว ในชีวิตจริงภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเจอการเมืองจากคนฮอลลีวูดที่ต่างพากัน “นัดหยุดงาน” ในช่วงโปรโมทภาพยนตร์พอดี ทีมงานเขามีวิธีแก้ไขเรื่องนี้กันยังไงเดี๋ยว Ensure จะพาไปดู   ลองคิดเล่น ๆ ก็ปวดหัวน่าดู อย่างที่ขึ้นหัวไว้จะเกิดอะไรขึ้นถ้าลูกชายประธานาธิบดีสหรัฐฯเกิดตกหลุมรักเจ้าชายแห่งราชวงศ์อังกฤษ? แน่นอนถ้าเป็นคนทั่วไปเรื่องนี้ก็เป็นแค่ “เรื่องของคนสองคน” แต่ด้วยสถานะของทั้งคู่มันเลยมีเรื่อง “การเมืองระหว่างประเทศ” เข้ามาเกี่ยวด้วย ชาติหนึ่งก็ยึดถือในสิทธิ เสรีภาพ ส่วนอีกชาติดำรงไว้รากฐานของวัฒนธรรมอันเก่าแก่ เพราะงั้นเรื่องนี้เลยยุ่งเป็นพิเศษ    แต่เดี๋ยวจะเป็นเพจรีวิวไปซะก่อน ที่ยกหนังเรื่องนี้มาคุยในวันนี้มันก็มีสาเหตุ เพราะนอกจากเนื้อเรื่องที่มันน่าสนใจแล้ว ยังมีเรื่องของ “การตลาดบนโลกออนไลน์” ที่หนังเรื่องนี้เอามาใช้ที่ก็เจ๋งไม่แพ้กัน อย่างที่เกริ่นไว้ในช่วงต้นว่าช่วงที่กำลังโปรโมทหนังเรื่องนี้มันเป็นช่วงเวลาที่ตรงกับการประท้วงหยุดงานของบรรดาคนฮอลลีวูดพอดี   ส่วนสาเหตุนั้นก็มีหลายเรื่อง ทั้งปัญหาหนังสตรีมมิ่งที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ปัญหาค่าตัวที่ไม่เป็นธรรม แต่เรื่องที่มันจุดชนวนจนเป็นการนัดหยุดงานครั้งใหญ่จริง ๆ น่าจะมาจากที่เมื่อไม่นานนี้มีข่าวเรื่องการมาของ AI หลังมีข่าวบางสตูดิโอหัวหมอนำนักแสดงมาสแกนเข้าคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลนักแสดงไว้ใช้กับหนังเรื่องอื่น จนมันบานปลายนำไปสู่การนัดหยุดงานครั้งใหญ่ […]

คลิปสั้นแต่สู้ยาว! เมื่อแพลตฟอร์มออนไลน์ขอสู้ Tiktok งัดกลยุทธ์ใหม่ “ทำรายได้จากคลิปสั้น”

หลังจากเมื่อช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนโลกโซเชียลลุกเป็นไฟจากดราม่า “ทำเงินจาก Reels” ที่มีอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังท่านหนึ่งออกมาโชว์ยอดเงินจากทำ Reels ว่าสูงถึงหลักแสนบาทในเวลาไม่ถึงเดือน แต่สุดท้ายเจอ Meta (Facebook)

ดับฝันครีเอเตอร์ ทำเงินจาก Reels ที่แท้แค่ Facebook Error

เรียกได้ว่าเป็นเรื่องโอละพ่อก็ว่าได้สำหรับดราม่า Reels ที่ระบบผิดพลาด Error จนทำหลาย ๆ คนแห่กันไปทำคลิป Reels ลง Facebook กันรั่ว ๆ หนักไปกว่านั้น บางคนถึงขั้นมีการเปิดคอร์ส

เพราะอะไรหนังส่วนใหญ่ถึงต้องเข้าวันพฤหัส?

เรียกว่าเป็นที่ถูกอกถูกใจของบรรดาแฟนหนัง เพราะเพียงแค่สัปดาห์เดียวแต่มีหนังฟอร์มยักษ์ถึง 2 เรื่อง 2 แนว เข้าฉายพร้อมกัน คือ Oppenheimer หนังชีวประวัตินักฟิสิกส์ผู้สร้างระเบิดปรมาณู  ของผู้กำกับ Christopher Nolan และ Barbie หนังฉบับคนแสดงของของเล่นชื่อก้องโลก จากผู้กำกับ Greta Gerwi แต่เดี๋ยวก่อนวันนี้ Ensure ไม่ได้มาชวนดูหนัง แต่จะขอชวนทุกคนมาคุยกันหน่อยว่า ทำหม้ายทำไมเพราะอะไรหนังส่วนใหญ่ถึงชอบเข้าวันพฤหัสฯ กัน? มาเริ่มกันที่สาเหตุทำไมต้องวันพฤหัสฯ จากการไปสืบค้นก็พบว่าจริง ๆ แล้วตั้งแต่แรกหนังส่วนใหญ่เขาไม่ได้นิยมเข้ากันในวันพฤหัสบดีกันเสียทีเดียว แต่มักจะเข้าฉายใน “วันศุกร์” พร้อม ๆ กับทางฮอลลีวูดที่มักจะมีโปรแกรมหนังเข้าใหม่ในวันศุกร์เช่นเดียวกัน แต่แน่นอนด้วยความที่ตลาดบ้านเรากับทางสหรัฐขนาดมันต่างกัน โรงฉายหนังในไทยเลยเลือกที่จะนับ “รายได้” ตั้งแต่ 3 วันแรก คือวันศุกร์ วันเสาร์ แล้วก็วันอาทิตย์ เพื่อมาจัดโปรแกรมการฉายรอบใหม่ในสัปดาห์ต่อไป ถ้าเรื่องไหนคนดูเยอะก็เพิ่มรอบ เรื่องไหนคนดูน้อยก็ลดรอบ พอเป็นแบบนี้เลยเริ่มมีแนวความคิดที่ปรับวันฉายของหนังใหม่มาเป็น “วันพฤหัสบดี” แทน เพื่อที่จะเพิ่มโอกาสทำเงินให้กับหนังมากขึ้น ซึ่งจริง ๆ แม้จะย้ายมาจากวันศุกร์ที่เป็นช่วงต้นสุดสัปดาห์ มาเป็นวันพฤหัสบดีที่มันค่อนข้างจะเป็นวันกลางสัปดาห์ก็ไม่ได้เป็นปัญหาขนาดนั้น เพราะถ้าลองมาดูกันจริง […]

จำเป็นมั้ยที่แบรนด์ ต้องแสดงจุดยืนทางการเมือง?

ถึงเลือกนายกฯรอบแรกจะจบลงไปแล้ว แต่โลกโซเชียลไม่จบ! ผุดสารพัดแฮชแท็กออกมากดดัน ส.ว. ทั้ง #ธุรกิจสว ที่เป็นการชวนกันไม่ให้สนับสนุนกิจการธุรกิจของ ส.ว. ที่ไม่ได้โหวตให้ “พิธา” เป็นนายกฯ ลุกลามมาถึง #เมียน้อยสว

โลกทวิตอันแสนวุ่นวายของนาย Elon Musk

นี่ก็ผ่านไป 8 เดือนแล้วนะคะ ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2565 ที่นายตัวแสบ Elon Musk เข้ามา Take over Twitter อันแสนรักของชาวทวิตเตี้ยนแบบดิชั้น และก็นำพาเรื่องราวชวนปวดหัวไม่หยุดไม่หย่อนกันเลยทีเดียว

จำไม่หมด (เริ่ม)จดดีกว่าจำ วิธีง่าย ๆ เปลี่ยนข้อมูลให้ทำเงิน

เมื่อไม่นานมานี้ตัวผู้เขียนได้มีโอกาสชมคลิปของ คุณแต๋ง กฤษฏิ์กุล ชุมแก้ว เจ้าของร้าน “After Yum” ที่ได้ขึ้นไปพูดในงาน Modern Business Night ของทาง Capital ซึ่งนอกจากความรู้และแง่คิดในการบริหารธุรกิจของคุณแต๋งแล้ว วิธีการนำ Data

ส่องแบรนด์ดังในไทย ร่วมฉลอง Pride Month กันอย่างไร ?

ถึงแม้ว่าจะมีกระแสโจมตีหลายแบรนด์ถึงการพยายามย้อมสีรุ้ง (Rainbow Washing) โดยไม่ได้สนใจเรียกร้องสิทธิ LGBTQ+ Community กันอย่างจริงจัง แต่เมื่อเข้าถึงเดือนมิถุนายน หลายแบรนด์ก็ร่วมเฉลิมฉลอง

ส่องนานาประเทศในเอเชีย ร่วมเฉลิมฉลอง LGBTQ+ Community และร่วมผลักดันสิทธิของทุกเพศให้เท่าเทียมกันอย่างไร ?

ประเด็นเรื่องความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศเป็นประเด็นหลักที่เหล่าชุมชน LGBTQIAN+ ร่วมผลักดันมาโดยตลอดในหลากหลายประเทศ วันนี้ Ensure จึงขอพาทุกท่านทุกเพศสภาพมาทำความรู้จักกิจกรรมเพื่อผลักดันประเด็นความเท่าเทียมในหลากหลายประเทศในแถบเอเชียกันว่า แต่ละประเทศมีการจัดกิจกรรมและมีเป้าหมายการผลักดันอย่างไรกันบ้าง

ร่วมเฉลิมฉลอง Pride Month ไปด้วยกันกับ Ensure

ตอนนี้ก็เข้าสู่เดือนมิถุนายน เดือนสีรุ้งแห่งการเฉลิมฉลองความภาคภูมิใจของชาว LGBTQIAN+ ซึ่งจริง ๆ แล้ว คนทุกคน ทุกเพศสภาพ ทุกอัตลักษณ์ ก็สามารถร่วมเฉลิมฉลองไปพร้อม ๆ กันได้ นี่คือชัยชนะของการ การต่อสู้เพื่อการแสดงออกถึงสิทธิ เสรีภาพ ในอัตลักษณ์ของตน ที่ไม่ต้องถูกจำกัดด้วยข้อกำหนดทางสังคมอีกต่อไป ภายใต้ภาพบรรยากาศแห่งการประดับประดาไปด้วยธงสีรุ้ง ช่วงเวลาของสินค้าและเคมเปญการตลาดมากมายเพื่อเอาใจกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ย้อนกลับไปเมื่อไม่กี่สิบปีก่อน การแสดงออกที่ผิดกับเพศกำเนิดของตัวเองถือว่าเป็นเรื่องต้องห้ามในสังคม ชาว LGBTQIAN+ หลาย ๆ คนต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ หวาดกลัวต่อคำว่าร้ายต่าง ๆ นานา หนักที่สุดในบางแห่งจนถึงขั้นประกาศใช้เป็นกฏหมาย การจะมีความรักอย่างจริงใจต่อใครซักคนหนึ่งซึ่งไม่ใช่เพศตรงข้ามนั้น เป็นเพียงแค่เรื่องความฝัน ครั้ลบเลือนหายไปพร้อมกับหยาดน้ำค้างยามเช้า เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1969 เจ้าหน้าที่ตำรวจของสหรัฐฯ ได้บุกเข้าจับกุมตัวผู้ใช้บริการในบาร์เกย์ “สโตนวอลล์ อิน” (Stonewall Inn) การเข้าจับกุมครั้งนี้ดำเนินไปด้วยความรุนแรง ถึงแม้บาร์แห่งนี้จะถูกบุกจับบ่อยครั้ง แต่ในครั้งนี้แรงปะทุจากความอัดอั้นก็ถูกระเบิดขึ้น จากการบุกจับกุมจึงถูกตอบโต้ด้วยผู้คน ลุกลามไปจนเป็นการชุมนุมประท้วง เพื่อทวงคืนสิทธิเสรีภาพของตัวเองกลับมาอีกครั้ง ในวินาทีนั้นไม่มีใครหวาดกลัวที่จะต้องประกาศว่าตัวเองไม่ใช่ Straigt อีกต่อไป […]