คุณเคยรู้สึกไหมว่าทำไมคนอื่น ๆ ถึงดูมีความสุขมากกว่าคุณ? คุณเคยสังเกตไหมว่า ในขณะที่เลื่อนหน้า Facebook อยู่นั้น คนรอบข้างช่างดูมีความสุขกับวันหยุด หรือแม้แต่มีเวลาที่จะฉลองให้กับความสำเร็จ แต่พอหันกลับมามองตัวคุณเอง ก็ได้แต่ใช้ชีวิตให้หมดไปวัน ๆ จนสุดท้ายก็กลับถึงบ้านด้วยความเหนื่อยล้า ในขณะที่คุณคิดหาเหตุผลว่าทำไมถึงตกอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ แต่สุดท้ายก็พบว่า มันเป็นเพียงแค่ความโชคร้าย ตลอดเวลาที่ผ่านมา คุณคงรู้สึกท้อแท้และหมดกำลังใจ แต่ลองมองย้อนกลับไปและสังเกตสักนิด คุณจะพบว่าตัวคุณได้ก้าวผ่านการควบคุมสถานการณ์แย่ ๆ นั้นได้ แทนที่จะดึงตัวเองให้รู้สึกแย่ไปกว่าเดิม คุณควรจะหันมาเพิ่มพลังในการใช้ชีวิตด้วยการคิดบวก ความสุขนั้นเริ่มต้นจากวิธีคิด วันนี้ พยายามที่จะพัฒนาตัวเอง “อย่ายึดติดกับความสำเร็จของคนอื่น” ไม่จำเป็นที่จะต้องเทียบตัวเองกับความสำเร็จของคนอื่น เพียงแค่มุ่งมั่นตั้งใจพัฒนาตัวเองให้ดีอยู่เสมอก็พอแล้ว มันเป็นเรื่องปกติ ที่เราจะมีความรู้สึกเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น จากสิ่งที่เราเห็นแค่ภายนอก เช่น เวลาที่คุณเล่น Facebook คุณก็มักจะสังเกตว่าคนส่วนใหญ่มักจะแชร์แต่สิ่งดี ๆ หรือสิ่งที่พวกเขาดูมีความสุขลงบน Facebook กันทั้งนั้น เพราะสิ่งนี้เองที่ทำให้เราอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบตัวเองกับพวกเขา รู้จักคุณค่าของตัวเอง คุณควรมีความมั่นใจในตัวเอง จงมั่นใจที่จะทำในสิ่งที่คุณเชื่อและศรัทธา เพราะเมื่อใดที่คุณมีความมั่นใจในตัวเองแล้ว คนอื่น ๆ ก็จะมองเห็นและมั่นใจในตัวคุณด้วยเช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ “ตอนที่ฉันเริ่มทำเว็บไซต์นี้ขึ้นมาในตอนแรก ฉันก็เริ่มมีความกังวลว่าคนอื่น ๆ อาจจะไม่ชอบ ไม่พอใจ […]
เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Facebook ได้ออกมาประกาศว่าจะมีการเพิ่มฟีเจอร์ Dark Mode สำหรับ Messenger แต่รอกันมานานถึง 4 เดือนแล้วก็ยังไม่มีการเพิ่มฟีเจอร์ดังกล่าวให้กับผู้ใช้งานทุกคน และนี่คือวิธีการเปิดใช้งานง่ายๆ ที่หลายคนยังไม่รู้ Dark Mode หรือโหมดกลางคืน บน Facebook Messenger สามารถเปิดใช้งานได้โดยส่ง emoji รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวในช่องแชท ทันทีที่คุณส่งอิโมจินี้คุณจะเห็นข้อความป๊อปอัพที่ด้านบนซึ่งเขียนว่า “คุณค้นพบโหมดกลางคืน!” ด้านล่างนั้นจะเป็นปุ่มที่มีคำว่า “เปิดใช้งานในตั้งค่า” เมื่อเข้าไปในเมนูตั้งค่า คุณก็จะเห็นตัวเลือกใหม่ที่เรียกว่า “โหมดกลางคืน” และเลือกเปิดใช้งานได้ แต่ในขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าวิธีนี้ใช้ได้กับทุกประเทศและทุกแพลตฟอร์ม แต่ว่าผู้ใช้งานจากในฟิลิปปินส์ โปรตุเกส สาธารณรัฐเช็ก ซาอุดิอาระเบีย อินโดนีเซีย และไทย บางส่วนรายงานว่าวิธีนี้ใช้ได้ผลสำหรับพวกเขา และรวมไปถึงสมาร์ทโฟนระบบ Android อินเดีย แต่อย่างไรก็ตาม ฟีเจอร์นี้อยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบ ดังนั้นไม่ใช่ทุกคนที่จะได้เห็นหรือเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ได้ในขณะนี้
สำหรับหลาย ๆ คนที่อยากมีธุรกิจของตัวเอง แต่ไม่มีความรู้หรือพื้นฐานในการทำการค้าหรือการทำธุรกิจมาก่อน การซื้อ “แฟรนไชส์ (Franchise)” จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากเจ้าของแฟรนไชส์ได้เตรียมทุกอย่างไว้ให้หมดแล้วเหลือแค่ขายเท่านั้น แต่เฟรนไชส์ในปัจจุบันมีอยู่มาก จึงจำเป็นที่ต้องเลือกอย่างมีสติไม่ใช่เลือกจากสิ่งที่ตัวเองคิดอยากขายเท่านั้น และอย่าหลงเชื่อข้อมูลที่เจ้าของเฟรนไชส์ได้โฆษณาทั้งหมด ถ้าหากคุณต้องการที่จะซื้อแฟรนไชส์ให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด วิธีต่อไปนี้จะช่วยให้คุณลดความเสี่ยงในการลงทุนโดยเปล่าประโยชน์ 1. ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ ยิ่งธุรกิจนั้นทำมานานแล้ว สื่อได้ว่าแบรนด์มีคุณภาพและความแข็งแรงพอกับผู้ที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งได้มีการวางระบบที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งมาแล้ว เพราะคงจะต้องเจอปัญหาต่าง ๆ มามากพอสมควร น่าจะเพียงพอที่จะช่วยให้คำแนะนำต่าง ๆ ได้เวลาที่เกิดปัญหา หรือเรียกว่ามีประสบการณ์ค่อนข้างรอบด้านกว่าแฟรนไชส์ใหม่ ๆ สังเกตจากลูกค้าของร้านแฟรนไชส์ว่ามีลูกค้าเยอะเพียงพอหรือไม่ 2. ชื่อเสียงในด้านดี ชื่อเสียงที่ดีก็เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะต่อให้ธุรกิจนั้นดำเนินมานานก็ตาม แต่ก็จำเป็นต้องมีด้วยเช่นกัน ก่อนอื่นลองตรวจสอบดูว่าในสายตาของผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อแบรนด์นั้นอย่างไร ถ้ามีชื่อเสียงที่ดีคุณก็จะไม่ต้องออกแรงมากในการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ เพราะแบรนด์สามารถขายได้ในตัวเองอยู่แล้ว แต่ถ้าแบรนด์มีชื่อเสียงในด้านลบก็ควรจะหลีกเลี่ยง หรือถ้ามีทั้ง 2 อย่างก็ควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย 3.จดทะเบียนธุรกิจตามกฎหมายอย่างถูกต้อง คุณหลีกเลี่ยงแฟรนไชส์ที่เหมือนจะไม่มีอยู่จริงการที่จดทะเบียนเพื่อทำการค้าอย่างถูกต้องก็ช่วยให้คุณรู้สึกอุ่นใจได้ในระดังหนึ่งว่าเจ้าของแฟรนไชส์มีความตั้งใจจริงในการทำธุรกิจและเวลาเกิดปัญหาคงจะไม่หนีหายไปง่าย ๆ 4. เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง การที่เฟรนไชส์ไม่มีการพัฒนาหรือปรับปรุงอยู่ตลอดเวลาแสดงให้เห็นว่าเจ้าของแฟรนไชส์อาจจะหยุดพัฒนาธุรกิจกลางทางก็ได้ดังนั้นคุณควจมองหาแฟรนไชส์ใหม่ที่มีการอัพเดทบ่อย ๆ ขยันทำการตลาดและใส่ใจกับคุณภาพอยู่ตลอด 5. ดูการให้บริการ ซึ่งก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีการพูดคุยรายละเอียดต่าง ๆ ให้ดูว่ามีการตอบกลับมาเร็วแค่ไหนและให้รายละเอียดครบตามที่ต้องการหรือไม่รวมถึงเจ้าของแฟรนไชส์ด้วยว่ามีอัธยาศัยที่ดีหรือเปล่าแต่ถ้าหากว่าคุณติดต่อไปแล้วต้องใช้เวลานานกว่าจะติดต่อกลับมาหรือมองดูแล้วไม่ค่อยให้ความใส่ใจแนะนำว่าควรหาเฟรนไชส์อื่นดีกว่า 6. โปรแกรมการฝึกอบรมให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถเรียนรู้ธุรกิจได้ บางธุรกิจเจ้าของแฟรนไชส์จะมีโปรแกรมการฝึกอบรมที่ครอบคลุมการทำธุรกิจ เพื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถเรียนรู้วิธีการทำงานต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจอย่างละเอียด นี่ก็เป็นอีกเรื่องสำคัญที่ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนที่จะเลือกซื้อแฟรนไชส์ แม้จะมีข้อดีที่เราไม่ต้องวางแผนในการทำธุรกิจทั้งหมด แต่ข้อเสียที่ชัดเจนอย่างหนึ่งก็คือเราต้องผูกติดอยู่กับเจ้าของแเฟรนไชส์ อย่างเช่น อาจจะต้องซื้อวัตถุดิบบางอย่างจากเจ้าของ […]